สะท้อนข้อมูลการศึกษาสู่การจัดทำข้อเสนอและแนวทางการจัดการขยะติดเชื้อสำหรับหน่วยงานเพื่อขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ

20 กุมภาพันธ์ 2566 โครงการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 14 มติ 14.1 การเสริมสร้างสุขภาวะสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในวิกฤติโควิด-19: กรณีการจัดการขยะติดเชื้อชุมชน จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างข้อเสนอและแนวทางการจัดการขยะติดเชื้อชุมชน โดยได้รับเกียรติจาก ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วยคุณสมเกียรติ พิทักษ์กมลพร ผู้อำนวยการ สำนักพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับชาติ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวเปิดการประชุม และมี ดร.พิรียุตม์ วรรณพฤกษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ดำเนินการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยคุณวิลาวรรณ น้อยภา หัวหน้าโครงการและคุณณัฐณิชา ยี่ลังกา นักวิจัยร่วมนำเสนอผล และมีผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่ ประสบการณ์ท่ี่เกี่ยวข้องในการบริหารและจัดการขยะติดเชื้อ ร่วมแลกเปลี่ยนให้ข้อเสนอแนะ แนวทางปรับร่างฯ ให้เกิดความสมบูรณ์ในการเผยแพร่ผลในระยะต่อไป

ผู้เข้าร่วมได้ร่วมสะท้อนสถานการณ์ ปัญหาอุปสรรค ในการจัดการขยะติดเชื้อในพื้นที่ว่าสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา ว่าเป็นสภาวะวิกฤติ โควิมีส่วนเปลี่ยนรูปแบบของมูลฝอยติดเชื้อเปลี่ยนไปจากเดิม จากนิยามและความหมายของขยะติดเชื้อ ขยะปนเปื้อนถูกทิ้งปนเปื้อนในหลุมฝังกลบ ไม่ถูกจัดการในระบบกำจัดที่ถูกต้อง หน่วยงานออกกฎหมายและหน่วยปฏิบัติดำเนินงานไม่สอดคล้อง จึงควรมีแนวทางและวางเป้าหมายที่ชัดเจน ทั้งด้านนโยบาย การปฏิบัติ การศึกษาวิจัย และการควบคุมติดตาม ครอบคลุมทั้งระบบการจัดการต้นทาง กลางทาง และปลายทาง มุ่งการจัดการด้วยตนเองให้ได้มากขึ้นเพื่อลดงบประมาณและการจัดการข้ามพื้นที่ *เพราะขยะติดชื้อคือขยะที่จัดการตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด ปลอดภัย กำจัดด้วยเตาเผาให้หมดไปด้วยเทคโนโลยีที่มีมาตรฐาน จึงต้องจัดการต้นทางอย่างจริงจังจากทุกคนและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง