การพัฒนากลไกการเสริมพลังการขับเคลื่อนและเพิ่มขีดความสามารถของภาคีความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสู่เป้าหมายก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยประสานงานกลางของประเทศด้านปฏิบัติการเพื่อเสริมพลังด้านสภาพภูมิอากาศ จึงมีหน้าที่และบทบาทหลักในการประสานความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา การฝึกอบรม และการสร้างจิตสำนึกด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ตลอดจนการสร้างเครือข่ายการทำงานเสริมพลังรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การส่งเสริมการจัดทำแผน นโยบาย กฎหมาย และมาตรการจัดการสิ่งแวดล้อมสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ตามเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศด้วยบริบทของพื้นที่
จากการที่ประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ในช่วง ค.ศ. 2565-2570 ทำให้ภาคส่วนต่าง ๆ หันมาสนใจในเรื่องนี้มากขึ้นตามลำดับ กรมฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญขององค์ความรู้ บทเรียน และผลสำเร็จของการดำเนินงาน จึงได้ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ องค์ความรู้ ถอดบทเรียน ของกรณีตัวอย่างที่ดีด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยศึกษาบทเรียนและองค์ความรู้จากภาคส่วนต่าง ๆ อาทิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน ภาคการท่องเที่ยว ภาคการเกษตร เป็นต้น ที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อนำไปรวบรวมแนวปฏิบัติที่ดี เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานทุกภาคส่วน และประชาชนทั่วไป ได้รับทราบ มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนัก และเล็งเห็นความสำคัญ รวมทั้ง มีการประเมินความตระหนักของประชาชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนากลไกเสริมพลังของภาคีความร่วมมือให้เป็นรูปธรรมและให้สามารถขับเคลื่อนสู่เป้าหมายดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการฯ คือ

  1. เพื่อศึกษาและรวบรวมความรู้และการดำเนินงานด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และด้านปฏิบัติการเสริมพลังความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  2. เพื่อประเมินระดับความตระหนักด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และจัดทำเส้นบรรทัดฐาน (Baseline) ระดับความตระหนักด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประชาซน
  3. เพื่อพัฒนากลกการเสริมพลังการขับเคลื่อนและเพิ่มขีดความสามารถของภาคีความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยศึกษาวิเคราะห์กรณีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  4. เพื่อถอดบทเรียนแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) จากกรณีตัวอย่าง และเชื่อมโยงภาคีความร่วมมือต่าง ๆ ในการผลักดันแนวนโยบายไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้ประเทศไทยมีความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • ระยะเวลาดำเนินการ:
    1 มีนาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
  • ผู้สนับสนุนโครงการ:
    กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ:
    เขมาพัสส์ พูลสวัสดิ์ / วิศรา หุ่นธานี
  • ติดต่อสอบถาม:
    02 503 3333 ต่อ 533 | khemapas@tei.or.th